โรคปอด

รู้ทันโรคปอดอักเสบ อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ปอดบวม

โรคปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่า “ปอดบวม” เกิดจากสาเหตุของการติดจากเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ ที่เรียกว่า เชื้อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งมีกว่า 90 สายพันธุ์ ไม่เพียงเท่านี้เชื้อนี้ยังสามารถก่อให้เกิดโรคอื่นตามมาได้อีก ได้แก่ การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง และการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งโรคปอดอักเสบนี้ปัจจุบันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

สาเหตุของการเกิดโรคปอดอักเสบนี้ พบว่ามีความแตกต่างกันในตามสภาพแวดล้อมและแต่ละช่วงวัย โดยร่างกายจะได้รับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ ด้วยวิธีการ ไอ หรือ จาม ทำให้เชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศ ที่มีลักษณะละอองฝอยขนาดเล็กเข้าสู่ปอดโดยตรงได้ ในกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าการติดเชื้อมักเกิดจากการสำลักน้ำลาย น้ำดื่ม หรืออาหาร ส่งผลให้เชื้อที่สะสมอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน เข้าสู่บริเวณปอด จนเกิดโรคปอดอักเสบในที่สุด

นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อมีพัฒนาการของโรคที่รุนแรงขึ้น ก็จะเกิดภาวะปอดอักเสบตามมาได้ ดังนั้นการป้องกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ จึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบได้อีกด้วย

การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบ

แพทย์จะทำการตรวจ X- Ray ปอด ตรวจเลือดและนำเสมหะ (swap) ของคนไข้ไปตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจจำแนกแยกเชื้อ ถือเป็นการยืนยันหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของการป่วย ก่อนวางแผนการรักษาให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

อาการของโรคปอดอักเสบ ที่มักพบได้แก่

  1. มีไข้
  2. เหงื่อออก
  3. หนาวสั่น
  4. ไอมีเสมหะ
  5. คลื่นไส้ อาเจียน
  6. ท้องเสีย
  7. เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
  8. อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบาก

การป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ

  1. หลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างถูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  2. รักษาสุขอนามัยเสมอเพื่อป้องกันการรับเชื้อสู่ร่างกาย ด้วยการล้างมือทุกครั้งที่มีการหยิบจับสิ่งของและก่อนรับประทานอาหาร
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และการเดินทางไปอยู่ในที่มีผู้คนหนาแน่น
  4. สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ
  5. แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่
โรคปอด
กาแฟลดน้ำหนัก

5 เทคนิคดื่มกาแฟ ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยเร่งการเผาผลาญแคลอรีส่วนเกิน

หลายคนทำงานไม่ได้หากไม่ได้ดื่มกาแฟเป็นอย่างแรกในตอนเช้า แต่พอได้ดื่มกาแฟสักถ้วยแล้วกลับทำให้เรามีพลังงานเหลือเฟือถึงแม้จะเป็นเพียงการดื่มกาแฟแค่อย่างเดียวโดยที่ไม่มีอาหารอื่น ๆ เลย เพราะปริมาณคาเฟอีนในกาแฟทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น ระงับความอยากอาหาร และยังเป็นที่รู้จักในเรื่องการช่วยกระตุ้นการเผาผลาญแคลอรี่และไขมัน นอกจากนี้คาเฟอีนยังมีคุณสมบัติในการทำให้เกิดความร้อน ซึ่งหมายความว่าจะสามารถช่วยเผาผลาญแคลอรีในร่างกายได้

กาแฟยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุอย่างโพแทสเซียมและแมกนีเซียม และด้วยประโยชน์มากมายที่มีอยู่ในกาแฟ เราจึงสามารถดื่มกาแฟเพื่อช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกินได้ แต่เดี๋ยวก่อนหากเราดื่มกาแฟผิดวิธีก็อาจเปลี่ยนเป็นการทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นแทน ดังนั้นวันนี้เราจึงมี 5 เทคนิคในการดื่มกาแฟเพื่อช่วยลดน้ำหนัก เราควรจะดื่มอย่างไรให้เหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุดจากเครื่องดื่มยอดนิยม ตามไปดูวิธีของเรากันเลยค่ะ
กาแฟลดน้ำหนัก

คาเฟอีนมีผลต่อการลดน้ำหนักอย่างไร

คาเฟอีนช่วยเพิ่มการเผาผลาญและช่วยเร่งให้ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นยาระงับความอยากอาหาร หมายความว่าหลังจากดื่มกาแฟ เราจะรู้สึกหิวเพียงเล็กน้อยตลอดทั้งวัน นอกจากนี้คาเฟอีนในกาแฟยังช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อและตะคริวหลังออกกำลังกายได้ จึงเหมาะเป็นเครื่องดื่มก่อนออกกำลังกายที่ยอดเยี่ยม สามารถให้พลังงานในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

5 เทคนิคดื่มกาแฟ ช่วยลดน้ำหนัก

  1. ดื่มกาแฟดำ
    หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล นม และสิ่งอื่น ๆ ลงในกาแฟเพียงเท่านี้ก็จะได้กาแฟดำที่มีแคลอรีเป็น 0 คาเฟอีนและกรดคลอโรจีนิกในกาแฟดำช่วยกระตุ้นการเผาผลาญและช่วยเร่งการลดน้ำหนัก กลับกันหากเราตื่มสารปรุงแต่งรสลงในกาแฟ อาจเป็นการเพิ่มแคลอรี่โดยไม่จำเป็นและทำให้เราลดน้ำหนักได้ช้าลงด้วย
  2. หลีกเลี่ยงครีมเทียมและครีม
    อย่างที่รู้กันว่ากาแฟจะมีรสชาติดีขึ้นมากเมื่อเราเติมครีมหรือครีมเทียม แต่การเพิ่มของอร่อย ๆ แบบนั้นก็เป็นการเพิ่มไขมันและแคลอรี่ด้วย และเมื่อแคลอรี่ของกาแฟเพิ่มขึ้น มันก็จะไม่ช่วยเราลดน้ำหนักอีกต่อไป
  3. ดื่มกาแฟคู่อาหารเช้า
    งานวิจัยบอกว่าควรดื่มกาแฟควบคู่ไปกับอาหารเช้า เพราะกาแฟมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการผลิตกรดในกระเพาะ แต่หากเราดื่มกาแฟโดยไม่มีอาหาร กรดส่วนเกินนี้จะทำลายเยื่อบุของท้อง และอาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนเครียดเพิ่มมากขึ้น
  4. จำกัดการบริโภคไม่เกิน 2 – 3 ถ้วย
    ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟทำหน้าที่เป็นยาขับปัสสาวะที่ไม่รุนแรง แต่นั่นก็เป็นสาเหตุที่การดื่มกาแฟมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ ดังนั้นควรจำกัดการบริโภคคาเฟอีนให้เหลือเพียง 2 – 3 ถ้วยต่อวัน
  5. ดื่มอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนนอน
    การวิจัยกล่าวว่า ปริมาณคาเฟอีนจากกาแฟ 1 ถ้วยสามารถทำให้คนตื่นตัวได้นานถึง 6 ชั่วโมง หากต้องการลดน้ำหนักให้ประสบความสำเร็จ การปฏิบัติตามสุขอนามัยในการนอนหลับที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญ และการนอนหลับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 ชั่วโมงก็ถือเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งคาเฟอีนทำให้เราตื่นได้นานถึง 6 ชั่วโมง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เรานอนไม่หลับ จึงควรดื่มกาแฟแก้วสุดท้ายก่อนเวลา 16.00 น. หรือหากใครที่เข้านอนตอนช่วง 20.00 น. ก็ควรดื่มกาแฟแก้วสุดท้ายในช่วงเที่ยงวัน
ยาจิตเวช

ข้อควรรู้และควรปฏิบัติเกี่ยวกับยาจิตเวช

ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตหรือภาวะจิตใจที่ไม่เป็นสุข อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของจิตใจ พฤติกรรม อารมณ์ บุคลิกภาพ จนเกิดเป็นโรคทางจิตเวช ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน การเรียน แต่ความผิดปกติเหล่านี้ สามารถรักษาได้ด้วยยา ซึ่งยาจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

ยาจะไปช่วยอะไรได้บ้าง

• ปรับสมดุลของสารเคมีในสมองให้อยู่ในภาวะสมดุล

• อาการทางจิตสงบลง

• ลดอาการกระวนกระวาย หวาดระแวง หลงผิด

• ลดความเครียด ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า

• ช่วยให้นอนหลับได้

ยาจิตเวช

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคจิตเวช

  1. ยาจิตเวชไม่ได้ออกฤทธิ์เร็วเหมือนยาแก้ปวด อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนกว่าจะเห็นผลการรักษาว่าตอบสนองยาดีหรือไม่
  2. ยาจิตเวชไม่ทำให้เกิดอาการติดยา สามารถรับประทานเป็นระยะเวลานานได้ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  3. ยาจิตเวชมีทั้งชนิดเม็ด ชนิดน้ำ ชนิดฉีดที่มีฤทธิ์สั้น และชนิดฉีดที่มีฤทธิ์นาน สามารถควบคุมอาการได้เป็นเดือน แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการเลือกใช้ยาให้เหมาะกับอาการและโรคของผู้ป่วย
  4. ยาจิตเวชอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มีอาการน้ำลายมาก ลิ้นแข็ง มือสั่น ผู้ป่วยไม่ต้องตกใจหรือกังวลใจ หากพบว่าเกิดผลข้างเคียงจากยา ควรปรึกษาแพทย์ทันที

การดูแลเมื่อเกิดอาการข้างเคียงของยา ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการข้างเคียงของยา ดังนี้

ง่วงซึม ง่วงนอนมาก : ไม่ควรขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรอาจเกิดอันตรายได้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อลดหรือเปลี่ยนยา

ปากแห้ง : ควรบ้วนปาก จิบน้ำ หรือน้ำมะนาวบ่อยๆ เพื่อให้ปากชุ่มชื่น

ท้องผูก : ควรรับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมากๆ พยายายามเพิ่มการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายทุกวัน

คลื่นไส้ : ควรทำความสะอาดปากและฟัน ดื่มน้ำผลไม้รสเปรี้ยวหรืออมลูกอม

พฤติกรรมเชื่องช้าลง : ระมัดระวังการหกล้มหรือการเกิดอุบัติเหตุ

ลิ้นคับปาก น้ำลายไหล : ดูแลเรื่องความสะอาด พยายามควบคุมอารมณ์ไม่ให้หงุดหงิด เวลาสื่อสารกับผู้อื่นควรพูดช้าๆ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ

การปฏิบัติตัวของผู้ที่ได้รับยาจิตเวช

  1. เข้ารับการรักษา ควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์ผู้ตรวจรักษาให้ทราบเสมอ
    • ประวัติการแพ้ยา หรืออาการไม่สบายเมื่อได้รับยาชนิดใด
    • โรคที่เคยเป็น หรือยังเป็นอยู่
    • ยาที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงอาหารพิเศษหรือาหารเสริมใดๆ ที่กำลังรับประทานอยู่
    • การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร
    • กำลังจะเข้ารับการรักษาฟันหรือผ่าตัด
  2. รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ แม้ว่าอาการจะทุเลาหรือมีท่าทางหรือมีพฤติกรรมที่เป็นปกติแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ
  3. ไม่ควรลดหรือเพิ่มยา หรือหยุดรับประทานยาเอง
  4. ไม่แบ่งยาให้ผู้อื่นรับประทาน เนื่องจากเป็นยาเฉพาะบุคคลเท่านั้น
  5. งดสิ่งเสพติดมึนเมาทุกชนิด เช่น เหล้า เบียร์ ยาดอง กัญชา ยาบ้า
  6. พบแพทย์ตามนัด หากมีอาการเปลี่ยนแปลง ควรแจ้งแพทย์ทราบทุกครั้ง
  7. ไม่ควรใช้ยาใดๆ โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชการก่อน
  8. อ่านวิธีใช้ยาบนฉลากยาให้เข้าใจก่อนใช้ยาทุกครั้ง
  9. ใช้ยาตามขนาด วิธี และกำหนดระยะเวลาตามที่แพทย์สั่ง
  10. หากมีอาการผิดปกติระหว่างใช้ยา เช่น มีผื่นคัน แดง หน้าบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือหายใจลำบาก ควรกลับมาพบแพทย์ทันทีพร้อมกับนำยาที่ใช้มาด้วย
  11. ยาเกือบทุกชนิดมีฤทธิ์ข้างเคียงที่นอกเหนือจากฤทธิ์สำคัญที่ต้องการ และอาจเกิดขึ้นกับคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากผู้ใช้ยามีปัญหาของฤทธิ์ข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้น ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ยาโควิต19

ยาที่ควรมีติดบ้านในช่วงโควิด-19 นี้

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยยังน่ากังวล และทุกคนต้องอยู่บ้านหากไม่มีความจำเป็นก็ให้งดเดินทาง งดออกจากบ้านหรือ ​Work Form Home เพราะฉะนั้นในช่วงสถานการณ์แบบนี้สิ่งที่ทุกบ้านควรต้องมี คือ ยาสำคัญพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อป้องกันหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

ยาจะประกอบไปด้วย ยาเพื่อรักษาตามอาการ ซึ่งยากลุ่มนี้สามารถมีติดบ้านไว้ได้ตามปกติ เพื่อบรรเทาอาการของโรคที่อาจเกิดขึ้น ส่วนยาประเภทที่สอง คือ ยาเพื่อรักษาเพื่อลดการเกิดปอดอักเสบ หรือลดการเสียชีวิต เป็นการรักษาเฉพาะเพื่อต่อสู้กับไวรัส ซึ่งจะเป็นยาที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์

ยาช่วงโควิด-19

ยาโควิต19

เพราะฉะนั้นในเบื้องต้นในช่วงการระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ยาที่ควรจะมี หรือสามารถซื้อไว้ติดบ้านได้ จะเป็นยาในกลุ่มแรก คือ ยารักษาตามอาการ หรือยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค

  1. ยาประจำตัว สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรวางแผนเรื่องของยาให้มียาทานต่อเนื่อง 1-2 เดือน เพื่อลดการเดินทางไปโรงพยาบาล และลดการกำเริบของโรค
  2. ยาพาราเซตามอล โดยให้กินยาพาราเซตามอลทันทีเมื่อมีไข้ หรือมีไข้สูงเกิน 37 องศาเซลเซียส เนื่องจากนอกจากอาการโควิด-19 การมีไข้สูงอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ร่างกายอ่อนเพลีย หรือร่างกายขาดน้ำ

ทำไมถึงไม่แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินในการลดไข้ : จากข้อมูลเบื้องต้นคุณหมอมักไม่แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินในการรักษาอาการไข้หวัดใหญ่ หรือผู้ที่มีไข้สูง โดยเฉพาะในเด็ก เพราะอาจจะเป็นการเพิ่มสาเหตุของอาการตับอักเสบมากขึ้น

  1. ยาฟ้าทะลายโจร เป็นยาช่วยบรรเทาอาการที่ไม่รุนแรง แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันการป่วยจากโควิด-19 ใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรครุนแรง หรือผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ใช้เมื่อเริ่มมีอาการป่วยเล็กน้อย เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก ไม่ควรกินเกินวันละ 180 มิลลิกรัม แบ่งกินวันละ 3-4 ครั้ง
    ข้อควรระวัง :
  • ไม่ควรกินเกิน 5 วัน หลังกินยาฟ้าทะลายโจรไป 3 วันหากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์
  • ไม่ควรกินยาฟ้าทะลายโจร ร่วมกับยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาลดความอ้วน
  • ควรเลือกซื้อยาฟ้าทะลายโจรที่ผ่านการรับรองจาก อย.เท่านั้น
  1. ยาแก้ไอแบบเม็ด Dextromethorphan ถ้ามีอาการไอเยอะ สามารถกินได้ แต่ควรกินตามขนาดที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ และกินเฉพาะผู้ที่ยังไม่มีอาการปอดอักเสบ เนื่องจากสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบแล้ว หลายคนจะมีอาการไอมากกว่าปกติ รวมถึงมีเสมหะจำนวนมาก ซึ่งผลิตจากถุงลมส่วนล่าง ที่พยายามจะขับออกมาเวลามีเชื้อ ดังนั้นหากมีอาการปอดอักเสบแล้ว กินยาแก้ไอลักษณะนี้ เหมือนเป็นการไปกดอาการไอมากจนเกินไป ทำให้ร่างกายจะขับเสมหะออกมาตามธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้
  2. ยาลดน้ำมูก Chlorpheniramine หรือ CPM เป็นยาเพื่อช่วยลดเสมหะ ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น สามารถบรรเทาอาการได้ ในคนที่มีอาการเยอะ
    ข้อควรระวัง : หากเป็นผู้ป่วยโรคไต หรือ โรคตับบางอย่างที่มีข้อห้ามในการใช้ก็ต้องระมัดระวัง
    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น : หากใช้มากเกินไปอาจทำให้น้ำมูกแห้ง คอแห้ง ปากแห้ง หรือมีอาการง่วงซึมได้ ควรใช้เท่าที่จำเป็น หรือใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  3. ยาแก้แพ้ Fexofenadine เป็นยาที่มีฤทธิ์ช่วยลดน้ำมูก สามารถมีติดบ้านได้ แต่ให้ทานเท่าที่จำเป็น หรือใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  4. ผงเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salts) หรือที่เรียกว่า ผงน้ำตาลเกลือแร่ (Electrolyte Powder Packet) คือ สารที่ช่วยทดแทนการสูญเสียเกลือแร่ มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มพลังงาน เกลือแร่ และน้ำในร่างกาย รวมทั้งป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่จากอาการท้องเสีย หรือ อาเจียน ให้ชงเกลือแร่ ORS ผสมน้ำต้มสุก น้ำสะอาด จิบเรื่อยๆ ทั้งวัน (ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตและโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
  5. ยาสามัญประจำบ้านอื่น ๆ เพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น
  • ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย-ไซเมธิโคน
  • ยาธาตุน้ำแดง ลดอาการท้องอืด
  • ผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย
  • ยาระบายมะขามแขก
  • ยาถ่ายพยาธิลำไส้ มีเบนดาโซล
  • ยาแก้ไอน้ำดำ
  • ยาดมแก้วิงเวียน
  • ยาหม่อง
  • ยาโพวิโดน-ไอโอดีน ใส่แผลสด
  • น้ำเกลือล้างแผล
  • คาลาไมน์โลชั่น ยาทาแก้ผดผื่นคัน